กติกาว่ายน้ำ
กติกาการแข่งขันต่อไปนี้ ใช้ควบคุมการแข่งขันที่จัดขึ้นทุกประเภท ได้แก่ การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลก การแข่งขันระหว่างทวีป และการแข่งขันทั่ว ๆ ไประหว่างประเทศ ยกเว้นการแข่งขันที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
การดำเนินการแข่งขัน
-คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันที่แต่งตั้งขึ้นมา และได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ มีอำนาจเหนือผู้ตัดสินชี้ขาด กรรมการตัดสิน หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ และมีอำนาจสั่งให้เลื่อนรายการแข่งขันได้ภายในขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกติกา
-ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลก และการแข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศของสหพันธ์ฯ คณะกรรมการสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการและเจ้าหน้าที่ เพื่อควบคุมการแข่งขันอย่างน้อยที่สุด ดังต่อไปนี้
ผู้ตัดสินชี้ขาด 1 คน
กรรมการดูฟาล์ว 4 คน
ผู้ปล่อยตัว 2 คน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
หัวหน้าผู้บันทึก 1 คน
ผู้บันทึก 1 คน
ผู้รับรายงานตัว 2 คน
กรรมการเชือกฟาล์ว 1 คน
ผู้ประกาศ 1 คน
สำหรับการแข่งขันระหว่างชาติรายการอื่น ๆ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะแต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในจำนวนเท่ากัน หรือน้อยกว่ากันได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ แต่ต้องมีการแต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ หัวหน้าผู้จับเวลา 1 คน ผู้จับเวลาลู่ละ 3 คน หัวหน้าเส้นชัย 1 คน กรรมการเส้นชัย อย่างน้อยลู่ละ 1 คน
กรรมการและเจ้าหน้าที่
ผู้ตัดสินชี้ขาด
-ผู้ตัดสินชี้ขาดจะเป็นผู้ควบคุมและมีอนาจเหนือกรรมการและจ้าหน้าที่ทุกคน โดยเป็นผู้มอบหมายหน้าที่และให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับระเบียบการแข่งขัน หรือสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน โดยใช้กติกาการแข่งขันทั้งหมดของสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ (FINA) เป็นเครื่องตัดสิน และจะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดให้เป็นไปตามความเป็นจริงที่พบเห็น จากรายการแข่งขันหรือผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การตัดสินขั้นสุดท้ายจะถือว่าสิ้นสุดจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้
-ผู้ตัดสินชี้ขาดจะอยู่ในการแข่งขันทุกระยะ เพื่อจะได้แน่ใจว่าการแข่งขันได้เป็นไปตามกติกาหรือไม่ และจะสามารถวินิจฉัยการทักท้วงทุกชนิดที่เกี่ยวกับการแข่งขันได้
-เมื่อการตัดสินของกรรมการเส้นชัยกับกรรมการผู้จับเวลาไม่ตรงกัน ผู้ตัดสินชี้ขาดจะเป็นผู้กำหนดลำดับที่ให้ และถ้าอุปกรณ์อัตโนมัติสามารถทำงานได้ตามปกติให้พิจารณาตัดสินได้ตามกติกา
-เมื่อใช้เครื่องบันทึกภาพหรือวีดีโอเทป ผู้ตัดสินชี้ขาดสามารถนำวีดีโอเทปนั้นมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจในกรณีเกิดความสงสัย หรือการประท้วงเกี่ยวกับกับการกลับตัว การเข้าเส้นชัย และการเริ่มต้นในการว่ายผลัดได้
-ผู้ตัดสินชี้ขากจะต้องมั่นใจว่าเจ้าหจ้าที่ทุกคนอยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถควบคุมการแข่งขันได้อย่างถูกต้อง และจะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำรองเข้าแทนที่ เมื่อเจ้าหน้าที่นั้น ๆ ไม่อยู่ หรือมีจำนวนไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่
-ในการเริ่มต้นการแข่งจันแต่ละรายการ ผู้ตัดสินชี้ขาดจะให้สัญญาณแก่ผู้เข้าแข่งขัน โดยการเป่านกหวีดเสียงสั้น ๆ เพื่อเตือนให้ผู้เข้าแข่งขันถอดเสื้อวอร์ม หรือใส่แว่นตาเพื่อเตรียมพร้อม จากนั้นจะเป่านกหวีดเสียงยาวเพื่อสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าประจำที่ที่ส่วนหลังแท่นกระโดด (ถ้าเป็นการแข่งขันแบบกรรเชียงและว่ายแบบผลัดผสมให้ผู้เข้าแข่งขันลงไปในสระทันที) เมื่อผู้เข้าแข่งขันและเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ พร้อม ผู้ตัดสินจะให้สัญญาณให้ผู้ปล่อยตัวทราบโดยการเหยียดแขนออก ผู้ปล่อยตัวก็ใช้คำสั่งปล่อยตัวทันที
-ผู้ตัดสินชี้ขาดจะตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่เจตนาถ่วงเวลา หรือเจตนาทำผิดกติกาการแข่งขันที่ผู้ตัดสินชี้ขาดเห็นหรือได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ผู้ปล่อยตัว
-ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจควบคุมผู้เข้าแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดได้ให้สัญญาณมือแก่เขา จนกระทั่งการแข่งยันได้เริ่มขึ้น
-ผู้ปล่อยตัวจะต้องรายงานให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบถึงกรณีที่นักกีฬาถ่วงเวลาการปล่อยตัว การเจตนาไม่เชื่อฟังคำสั่งหรือการทำผิดมารยาทในการเข้าประจำที่ ผู้ตัดสินชี้ขาดสามารถตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่ถ่วงเวลา เจตนาไม่เชื่อคำสั่งหรือการทำผิดมารยาทได้ แต่การตัดสิทธิ์นี้จะไม่นับรวมกับจำนวนครั้งของการฟาล์วในการตั้งต้น
-ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจเต็มในการปล่อยตัวเพื่อความยุติธรรมในการตั้งต้น ถ้าผู้ปล่อยตัวเห็นว่าการปล่อยตัวครั้งนั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้สัญญาณซ้ำเพื่อให้สัญญาณว่ามีการฟาล์วเกิดขึ้น เพื่อจะทำการตั้งต้นใหม่ ยกเว้นภายหลังการฟาล์วเกิดขึ้น 2 ครั้งแล้ว ผู้ปล่อยตัวจะไม่ต้องให้สัญญาณซ้ำอีก คงปล่อยให้การแข่งขันดำเนินต่อไป
-การปล่อยตัวแต่ละรายการ ผู้ปล่อยตัวจะยืนอยู่ทางด้านข้างของสระ อยู่ห่างจากขอบสระด้านแท่นตั้งต้นประมาณ 5 เมตร และอยู่ในตำแหน่งที่ผู้จับเวลาสามารถมองเห็นสัญญาณการปล่อยตัวได้ชัดเจน และผู้เข้าแข่งขันทุกคนสามารถได้ยินสัญญาณนั้นได้ชัดเจน
ผู้รับรายงานตัว
-ผู้รับรายงานตัวต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มรายงานตัวแต่ละรายการก่อนการแข่งขันรายการนั้น ๆ
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว จะต้องแน่ใจว่ากรรมการดูการกลับตัวทุกคน จะต้องทำหน้าที่ในระหว่างการแข่งขันได้อย่างเต็มที่
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว เมื่อได้รับรายงานจากกรรมการดูการกลับตัวว่ามีการทำผิดเกิดขึ้นต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที
กรรมการดูการกลับตัว
ให้มีกรรมการดูการกลับตัวลู่ละ 1 คน ประจำอยู่ที่ปลายสระ
กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคน จะต้องมั่นใจว่าผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ฝ่าฝืนกติกาเกี่ยวกับการกลับตัว โดยเริ่มดูตั้งแต่การเริ่มช่วงสุดท้ายของการใช้แขนก่อนแตะขอบสระ และสิ้นสุดลงเมื่อเริ่มต้นช่วงแรกของการใช้แขนหลังการกลับตัว กรรมการดูการกลับตัวที่ประจำอยู่ด้านเส้นชัยจะต้องมั่นใจว่าผู้เข้าแข่งขันได้แตะขอบสระหรือแผ่นแตะอย่างถูกต้องตามกติกาการแข่งขัน
ในรายการแข่งขันประเภทเดี่ยว ระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านปลายสระ ต้องบันทึกจำนวนรอบที่ว่ายไปแล้วของผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายที่ตนรับผิดชอบ และแจ้งจำนวนรอบที่เหลือให้ผู้เข้าแข่งขันทราบด้วยป้ายบอกรอบที่เตรียมไว้นั้น
กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านเส้นชัยแต่ละคนจะต้องให้สัญญาณเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร ก่อน 2 เที่ยวสุดท้ายที่จะสิ้นสุดการว่ายระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร สัญญาณเตือนอาจใช้สัญญาณนกหวีดหรือระฆังก็ได้
กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านเส้นชัยแต่ละคน จะเป็นผู้ดูการตั้งต้นของผู้แข่งขันในรายการว่ายผลัด ว่าการแระโดดเริ่มของผู้แข่งขันคนถึดไปนั้นได้กระโดดออกจากแท่นตั้งต้น เมื่อผู้ว่ายคนก่อนได้แตะขอบสระหรือแผ่นแตะแล้ว
กรรมการดูการกลับตัว จะต้องรายงานการทำผิดระเบียบต่าง ๆ พร้อมรายละเอียดในแบบฟอร์ม โดยแจ้งถึงรายการแข่งขัน หมายเลขลู่ว่าย ชื่อผู้เข้าแข่งขัน และรายละเอียดต่าง ๆ ของการทำผิดระเบียบให้หัวหน้ากรรมการกลับตัวทราบ เพื่อจะได้รายงานให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที
กรรมการดูฟาล์ว
กรรมการดูฟาล์วจะต้องอยู่ด้านข้างของสระแต่ละด้าน
การรมการดูฟาล์วแต่ละคน จะต้องเข้าใจกติกาการแข่งขันเกี่ยวกับแบบของการว่ายแต่ละประเภทเป็นอย่างดี แต่จะต้องดูการกลับตัวเพื่อช่วยกรรมการดูการกลับตัวด้วย
กรรมการดูฟาล์วจะต้องรายงานการทำผิดระเบียบต่าง ๆ ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด โดยบันทึกรายละเอียดลงในใบบันทึก แจ้งถึงรายการแข่งขัน หมายเลขลู่ว่าย ชื่อผู้เข้าแข่งขัน และรายละเอียดการทำผิดระเบียบนั้น ๆ
หัวหน้ากรรมการจับเวลา
หัวหน้ากรรมการจับเวลาจะต้องเป็นผู้กำหนดตำแหน่งที่นั้งสำหรับกรรมการจับเวลาแต่ละลู่ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในแต่ละลู่ว่ายจะมีกรรมการจับเวลา 3 คน และมีกรรมการจับเวลาสำรองอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่แทนในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาเรือนใดเกิดขัดข้องในระหว่างการแข่งขัน หรือด้วยเหตุผลใด ๆ ที่ไม่สามารถจับเวลาได้
หัวหน้ากรรมการจับเวลาจะต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาจากกรรมการจับเวลาทุกคน และถ้ามีความจำเป็นอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น ๆ ได้
หัวหน้ากรรมการจับเวลา จะต้องตรวจสอบเวลาที่เป็นทางการในใบบันทึกเวลาแต่ละลู่ว่ายทุกครั้ง
กรรมการจับเวลา
กรรมการจับเวลาแต่ละคนจะตับเวลาของผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายที่ตนรับผิดชอบ นาฬิกาจับเวลาแต่ละเรื่อนจะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน
กรรมการจับเวลาแต่ละคนจะเริ่มต้นเดินนาฬิกาเรือนของตนเอง เมื่อได้รับสัญญาณเริ่มต้น และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์ กรรมการจับเวลาอาจจะได้รับคำสั่งจากหัวหน้ากรรมการจับเวลาให้จับเวลาในระยะทางอื่น ๆ ในการแข่งขันที่มีระยะเกินกว่า 100 เมตรด้วยก็ได้
ทันทีที่การแข่งขันได้สิ้นสุดลง กรรมการจับเวลาในแต่ละลู่ว่ายจะต้องบันทึกเวลาของตนลงบนใบบันทึก และมอบให้หัวหน้ากรรมการจับเวลา และถ้ามีข้อสงสัยของตรวจสอบเวลาอีกได้ และจะต้องให้ตรวจสอบได้ทันที กรรมการจับเวลาจะต้องไม่ลบเวลาของตน จนกระทั่งได้รับสัญญาณจากหัวหน้ากรรมการจับเวลาหรือผู้ตัดสินชี้ขาดให้ลบเวลา
นอกจากจะมีการใช้ระบบวีดีโอเทปเป็นเครื่องช่วยความจำเป็นอย่างดียิ่งของกรรมการจับเวลา ทั้ง ๆ ที่มีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่อยู่ด้วยก็ตาม
หัวหน้ากรรมการเส้นชัย
หัวหน้ากรรมการเส้นชัย จะเป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้
ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการ หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะรวบรวมผลการแข่งขันจากกรรมการเส้นชัยแต่ละคน และให้ลำดับที่การเข้าเส้นชัยของผู้เข้าแข่งขันตามลำดับ พร้อมนำส่งผลนั้นต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
เมื่อมีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่ตัดสินการเข้าเส้นชัยในการแข่งขัน หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องบันทึกลำดับที่การแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการได้สิ้นสุดลง
กรรมการเส้นชัย
กรรมการเส้นชัยจะต้องนั่งประจำที่ที่อัฒจันทร์เส้นชัยที่ตั้งอยู่แนวเดียวกับเส้นชัย และอยู่ในตำแหน่งที่สามารุมองเห็นเส้นชัยได้อย่างชัดเจน นอกจากในกรณีที่มีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ เพื่อแบ่งความรับผิดชอบในลู่ว่ายที่ได้รับมอบหมายด้วยการกดปุ่มสัญญาณของการแตะเส้นชัยของผู้ว่ายในลู่ของตนเท่านั้น
หลังการแข่งขันแต่ละรายการ กรรมการเส้นชัยจะต้องตัดสินลำดับที่ของผู้เข้าแข่งขันในลู่ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการเส้นชัยจะทำหน้าที่ในการกดปุ่มสัญญาณเท่านั้น จะไม่ไปทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกันนี้
เจ้าหน้าที่ควบคุมผลการแข่งขัน
หัวหน้าผู้บันทึกจะมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสถิติและลำดัลที่ในแต่ละรายการ ได้รับจากผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องดูการเซ็นชื่อกำกับผลการแข่งขันของผู้ตัดสินชี้ขาดด้วยว่าได้เซ็นชื่อรับรองผลหรือไม่
ผู้บันทึกจะต้องควบคุมและเก็บหลักฐานของการสละสิทธิ์ การทำสถิติใหม่ ตลอดทั้งเก็บผลการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นรอบคัดเลือกหรือรอบชิงชนะเลิศไว้อย่างครบถ้วน
กรรมการเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ จะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเองในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ นอกเสียจากว่าปัญหานั้น ๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว
การจัดเข้าลู่ว่ายในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
การจัดเข้าประจำลู่ว่ายของทุกรายการในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมป์โลก การแข่งขันระหว่างทวีป และการแข่งขันอื่น ๆ ของสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติจะดำเนินการจัดเข้าลู่ว่าย ดังนี้
รอบคัดเลือก
เวลาที่ดีที่สุดที่ได้จากการแข่งขันในระหว่าง 12 เดือนที่ผ่านมาของนักว่ายน้ำทุกคนที่สมัครเข้าแข่งขันจะต้องกรอกลงในแบบฟอร์ม คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันจะจัดลำดับความเร็วจากเร็วที่ทุดไปหาช้าที่สุด นักว่ายน้ำที่ไม่แจ้งเวลาในแบบฟอร์ม จะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีเวลาช้าที่สุด และอยู่ในลำดับสุดท้ายของบัญชีรายชื่อ ถ้าหากมีผู้ที่ไม่ได้แจ้งเวลามามากกว่า 1 คน จะใช้วิธีการจับสลากเพื่อหาลำดับก่อนหลัง การจัดเข้าประจำลู่ว่ายนั้นจะดำเนินตามกติกา
นักว่ายน้ำจะได้รับการวางตัวในการประลองตามลำดับความเร็ว ดังต่อไปนี้
ถ้ามีเพียงชุดเดียว การจัดลู่ว่ายจะดำเนินการเหมือนการจัดรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตัดสินชี้ขาด
ถ้ามี 2 ชุด นักว่ายน้ำที่มีเวลาเร็วที่สุด จะจัดให้อยู่ในชุดที่ 2 เวลาที่เร็วคนที่ 2 อยู่ชุดที่ 1 เวลาที่เร็วคนที่ 3 อยู่ชุดที่ 2 เวลาที่เร็วคนที่ 4 อยู่ชุดที่ 1 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
ถ้ามี 3 ชุด นักว่ายน้ำที่มีเวลาเร็วที่สุด จะอยู่ในชุดที่ 3 เวลาที่เร็วคนที่ 2 อยู่ชุดที่ 2 เวลาที่เร็วคนที่ 3 อยู่ชุดที่ 1 เวลาที่เร็วคนที่ 4 อยู่ชุดที่ 3 เวลาที่เร็วคนที่ 5 อยู่ชุดที่ 2 เวลาที่เร็วคนที่ 6 อยู่ชุดที่ 1 เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
ถ้ามี 4 ชุด หรือมากกว่าใน 3 ชุดสุดท้ายของรายการ จะดำเนินการตามกติกาข้อ 2.3 ชุดก่อนชุดที่ 3 จะประกอบด้วยนักว่ายน้ำที่เร็วที่สุด คนถัดไปชุดก่อนชุดที่ 4 ประกอบด้วยนักว่ายน้ำคนที่มีเวลาเร็วที่สุดคนถัดไป เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ การกำหนดลงลู่นั้นให้ดูความเร็วที่มีให้ในใบสมัคร โดยเรียงจากสูงไปต่ำ
ข้อยกเว้นในกรณีที่มีรอบคัดเลือก 2 ชุด หรือมากกว่า จะต้องมีนักว่ายน้ำอย่างน้อย 3 คนในชุดนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม จำนวนนักว่ายน้ำอาจจะเหลือน้อยกว่าชุดละ 3 คนได้ในกรณีที่มีการสละสิทธิ์กัน
ยกเว้นในรายการแข่งขัน 50 เมตร การกำหนดลู่นั้น (ยืนด้านตั้งต้นของสระหันหน้าไปทางปลายสระอีกด้าน ลู่ที่ 1 จะอยู่ทางซ้ายมือ) จะกำหนดโดยนักว่ายน้ำคนใดหรือทีมใดที่มีเวลาเร็วที่สุดให้อยู่ที่ลู่กลางของสระ คือ ลู่ที่ 3 หรือลู่ที่ 4 ในกรณีที่สระนั้นมีลู่ว่าย 6 หรือ 8 ลู่ นักว่ายน้ำที่มีเวลาเร็วคนต่อไปให้อยู่ลู่ทางซ้ายมือของคนแรก และในทำนองเดียวกันคนที่มีเวลาคนถัดไปให้อยู่ลู่ทางขวามือของคนแรก กระทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ จนครบทุกช่องว่าย นักว่ายน้ำที่มีเวลาเท่ากันจะกำหนดช่องว่ายโดยการจับสลากตามวิธีการที่กล่าวมาแล้ว
ในการแข่งขันประเภท 50 เมตร การแข่งขันจะดำเนินไปตามความเห็นหรือดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน การตั้งต้นอาจจะเริ่มจากด้านปล่อยตัวตามปกติไปยังปลายด้านกลับตัว หรืออาจจะเริ่มต้นจากด้านปลายไปยังด้านปล่อยตัวตามปกติก็ได้ ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์อัตโนมัติว่ามีเพียงพอหรือไม่ ตำแหน่งของผู้ปล่อยตัวมีที่ยืนเพียงพอเป็นไปตามกติกาไหม มีความปลอดภัยหรือเปล่า ฯลฯ คระกรรมการดำเนินการแข่งขันควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะเริ่มต้นการแข่งขัน เกี่ยวกับการจัดลู่ว่ายน้ำว่าใครอยู่ลู่ใดนั้น ซึ่งจะดำเนินการเช่นเดียวกันกับที่ได้กล่าวมาแล้ว ในทำนองเดียวกันการตั้งต้นและการเข้าสู่เส้นชัยของผู้ว่ายก็เหมือนกับการแข่งขันปกติ ไม่วาการตั้งต้นนั้นจะไปเริ่มที่ด้านใดของสระ
รอบชิงชนะเลิศ
หากไม่มีรอบคัดเลือก การกำหนดลู่ว่ายให้ดำเนินไปตามกติกาที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม จะใช้เวลาของผู้ว่ายน้ำแต่ละคนเป็นเครื่องกำหนดลู่ว่ายในชุดนั้น ๆ
ในรายการที่นักกีฬามีเวลาเสมอกัน โดยใช้เครื่องจับเวลาระบบเดียวกันที่มีอัตราส่วนเป็น 1/100 วินาที ไม่วาการว่ายนั้นจะอยู่ในชุดเดียวกันหรือต่างชุดกันก็ตาม ถ้าเสมอกันคนที่ 8 ของรอบชิงกลุ่ม เอ หรือ คนที่ 16 ในรอบชิงกลุ่ม บี จะต้องมีการแข่งขันกันใหม่เพื่อหาผู้แพ้และผู้ชนะ เพื่อจะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ แต่การแข่งขันนั้นจะต้องจัดขึ้นหลังจากที่บุคคลทั้งสองที่มีเวลาเสมอกันนั้นแข่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
หากในรอบชิงนั้นมีนักว่ายน้ำสละสิทธิ์คนหนึ่งหรือมากกว่านั้น ไม่วาผู้สละสิทธิ์จะอยู่ในกลุ่ม เอ หรือ บี จะต้องเรียกตัวสำรองในลำดับต่อไปเข้ามาแทน และกำหนดลู่ว่ายกันใหม่
การแข่งขันอื่น ๆ อาจใช้ระบบการจับสลากเป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งลู่ว่ายของผู้ว่ายได้
การเริ่มต้น
การเริ่มต้นแข่งขันแบบฟรีสไตล์ กบ และผีเสื้อ จะต้องทำโดยการกระโดดพุ่งตัวออกจากแท่นกระโดดลงไปในน้ำ เมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดเป่านกหวีดเสียงยาว ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องก้าวมายืนบนแท่นกระโดด และยืนอยู่ส่วนหลังของแท่นกระโดด เมื่อผู้ปล่อยตัวให้คำสั่ง เข้าที่ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องก้าวไปยืนที่ปลายสุดของแท่นกระโดดทันที พร้อมกับก้มตัวลงโดยเร็ว เมื่อผู้เข้าแข่งขันทุกคนอยู่ในท่านิ่ง ผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัว (โดยใช้เสียงปืน ออด นกหวีด หรือคำสั่งอื่น ๆ)
การเริ่มต้นการแข่งขันแบบกรรเชียง และแบบผลัดผสม จะต้องเริ่มจากในน้ำ เมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดเป่านกหวีดเสียงยาว ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องลงไปในน้ำทันที และกลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งทำเริ่มต้นโดยไม่มีการถ่วงเวลา นิ้วเท้าจะต้องอยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำ เมื่อนักว่ายน้ำทุกคนเข้าอยู่ในตำแหน่งของการเริ่มต้นแล้ว ผู้ปล่อยตัวจะใช้คำสั่งว่า เข้าที่ เมื่อผู้เข้าแข่งขันทุกคนอยู่ในท่านิ่ง ผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัวทันที
ในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมป์โลก และการแข่งขันรายการอื่น ๆ ของฟีน่า คำสั่งที่ใช้จะใช้คำว่า Take your marks เป็นภาษาอังกฤษด้วยเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ทุกคนเข้าประจำที่ที่แท่นกระโดดของแต่ละคน เสียงเครื่องขยายจะต้องดังพอสำหรับการให้สัญญาณซ้ำ เมื่อการเริ่มต้นฟาล์วเพื่อเรียกนักกีฬากลับมาเริ่มต้นใหม่
ผู้ปล่อยตัวสามารถเรียกผู้เข้าแข่งขันที่ทำฟาล์วในการปล่อยตัวครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มาเตือน เพราะจะไม่กระโดดก่อนสัญญาณการปล่อยตัวจะเริ่มขึ้น หลังจากการฟาล์ว 2 ครั้งแล้ว นักว่ายน้ำคนใดเริ่มออกก่อนสัญญาณการปล่อยตัวจะเริ่มขึ้น เข้าจะต้องถูกตัดสิทธิ์ถ้าเสียงสัญญาณการเริ่มต้นดังขึ้นก่อนการทำฟาล์วครั้งที่ 3 การแข่งขันให้ดำเนินต่อไป และนักว่ายน้ำหนึ่งคนหรือหลายคนที่ทำฟาล์วนั้น จะถูกตัดสิทธิ์เมื่อการแข่งขันในเที่ยวนั้นได้เสร็จสิ้นลง ถ้าหากมีการทำฟาล์วเกิดขึ้นก่อนสัญญาณเริ่มต้น ให้ปรับคนทำฟาล์วนั้นหมดสิทธิ์ และเรียกนักว่ายน้ำที่เหลืออยู่นั้นกลับมาเตือนแล้วจึงเริ่มต้นใหม่อีก
สัญญาณฟาล์วในการเริ่มต้นฟาล์วจะเหมือนกับสัญญาณการปล่อยตัว (โดยใช้ปืน ออด นกหวีด หรือคำสั่ง) แต่จะต้องปล่อยเชือกฟาล์วลง ถ้าผู้ตัดสินชี้ขาดได้พิจารณาเห็นว่าการเริ่มต้นนั้นฟาล์ว ผู้ตัดสินชี้ขาดจะต้องเป่านกหวีด ผู้ปล่อยตัวจะต้องให้สัญญาณซ้ำ และปล่อยเชือกฟาล์วลงด้วย
ถ้าเกิดความผิดพลาดหรือความขัดข้องทางเทคนิคจากกรรมการ เจ้าหน้าที่ และทำให้ผู้เข้าแข่งขันฟาล์ว การทำฟาล์วนี้จะไม่นับเป็นการกระทำฟาล์วของนักว่ายน้ำแต่อย่างใด
การว่ายน้ำแบบต่าง ๆ
การว่ายแบบฟรีสไตล์
ฟรีสไตล์ คือ รายการที่ผู้เข้าแข่งขันจะว่ายแบบใดก็ได้ ยกเว้นในการว่ายแบบเดี่ยวผสมหรือแบบผลัดผสม ฟรีสไตล์ หมายถึง การว่ายน้ำแบบใด ๆ นอกเหนือจากการว่ายกรรเชียง กบ และผีเสื้อ ในการว่ายแบบฟรีสไตล์ การกลับตัวและการเข้าเส้นชัยของนักว่ายน้ำจะสามารถแตะผนังขอบสระด้วยส่นหนึ่งส่วนใดของร่างกายได้ การใช้มือข้างหนึ่งข้างใดแตะก็ย่อมได้
การว่ายแบบกรรเชียง
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องลงไปตั้งต้นในน้ำ โดยหันหน้าเข้าหาแท่นตั้งต้น มือทั้งสองจับที่จับสำหรับการเริ่มต้น เท้าทั้งสองรวมทั้งหัวแม่เท้าจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ห้ามเหยียบ ยืน หรือใช้หัวแม่เท้าเกาะอยู่ที่รางระบายน้ำ นักว่ายน้ำจะต้องไม่เคลื่อนไหวส่วนใด ๆ ของร่างกายก่อนสัญญาณการเริ่มต้นจะเริ่มขึ้น
เมื่อให้สัญญาณการเริ่มต้น หรือการกลับตัวให้ถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย และต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน มือทั้งสองจะต้องไม่ปล่อยจากที่เกาะก่อนสัญญาณเริ่มต้นจะเริ่มขึ้น
ผู้เข้าแข่งขันคนใดเปลี่ยนท่าจากท่านอนหงายปกติ ก่อนที่ศรีษะ ไหล่ มือ หรือแขน จะแตะขอบสระ เพื่อการกลับตัวหรือเข้าเส้นชัย จะต้องถูกตัดสิทธิ์ให้แพ้ฟาล์วทันที จะอนุญาตให้บิดไหล่ตีลังกาได้หลังจากที่มือแตะขอบสระอย่างสมบูรณ์แล้ว เพื่อการกลับตัว แต่นักว่ายน้ำจะต้องกลับสู่ท่านอนหงายทันที ก่อนที่เท้าทั้งสองจะหลุดออกจากขอบสระ ท้านอนหงายปกติของการว่ายแบบกรรเชียง จะคลุมไปถึงการกลิ้งของลำตัวในการเคลื่อนไหว แต่ไม่รวมถึงตำแหน่งลำตัวที่กลิ้งจนทำมุมกับแนวนอนเป็นมุม 90 องศา ส่วนตำแหน่งของศีรษะจะอย่างไรก็ได้
การว่ายแบบกบ
ตั้งแต่เริ่มต้นของการใช้แขนจังหวะแรก หลังจากออกเริ่มต้น และหลังจากการกลับตัวแต่ละครั้ง ลำตัวของผู้ว่ายจะต้องอยู่ในท่าคว่ำหน้า ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานเป็นแนวเดียวกันกับผิวน้ำ
ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของแขนทั้งสองข้างต้องทำพร้อม ๆ กัน และอยู่ในระดับเดียวกัน แขนทั้งสองจะไม่มีการเคลื่อนไหวสลับกันขึ้นลง
การพุ่งแขนทั้งสองจะต้องพุ่มไปข้างหน้าพร้อม ๆ กันจากหน้าอกและดึงกลับไปข้างหลังที่ระดับผิวน้ำ หรือใต้ผิวน้ำก็ได้ (ยกเว้นในการเริ่มต้นและการกลับตัว) มือทั้งสองจะต้องไม่ดึงกลับหลังจนเลยแนวสะโพกไป
ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของขาทั้งสองจะต้องทำพร้อม ๆ กัน และอยู่ในระดับเดียวกัน ขาทั้งสองจะไม่มีการเคลื่อนไหวสลับกันขึ้นลง
การเตะขา เท้าทั้งสองจะต้องเตะกวาดออกไปด้านนอกในลักษณะเคลื่อนไปทางด้านหลัง ไม่อนุญาตให้เตะขาสลับขึ้นลงหรือแบบปลาโลมาสะบัดหาง ขาทั้งสองจะขึ้นมาอยู่เหนือผิวน้ำก็ได้ แต่จะต้องไม่เตะขาลงแบบปลาโลมาสะบัดหาง
ในการกลับตัวแต่ละครั้ง และการเข้าเส้นชัย จะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้งสองพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำ ไหล่ทั้งสองจะต้องอยู่ในลักษณะขนานกับผิวน้ำ
ในการว่ายแต่ละช่วง 1 จังหวะของการดึงแขนหนึ่งครั้ง เตะขาหนึ่งครั้งจะต้องมีบางส่วนของศรีษะของนักว่ายน้ำโผล่พ้นระดับน้ำให้เห็น ยกเว้นหลังจากการออกเริ่มต้นและการกลับตัวแต่ละครั้ง นักว่ายน้ำสามารถดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้ง และเตะขาได้ 1 ครั้ง ก่อนที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำ
การว่ายแบบผีเสื้อ
แขนทั้งสองจะต้องยกไปข้างหน้าเหนือน้ำ และดึงกลับไปหลังพร้อม ๆ กัน
ลำตัวจะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานกับระดับผิวน้ำ ตั้งแต่จังหวะเริ่มต้นของการใช้แขนจังหวะแรก และภายหลังจากการเริ่มต้นและการกลับตัวแต่ละครั้ง
ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของขาทั้งสอง จะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อม ๆ กัน ขาและเท้าทั้งสองจะต้องเคลื่อนขึ้น ลงพร้อม ๆ กันในแนวดิ่ง ขาและเท้าทั้งสองไม่อยู่ระดับเดียวกันก็ได้
การกลับตัวแต่ละครั้งและการเข้าเส้นชัย การแตะขอบสระจะต้องแตะด้วยมือทั้งสองพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะแตะเหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำ ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานกับระดับผิวน้ำ
ในการเริ่มต้น และการกลับตัวแต่ละครั้ง อนุญาตให้นักว่ายน้ำเตะขาได้ 1 ครั้ง หรือมากกว่าต่อการดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น เพื่อให้นำตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำ
การว่ายเดี่ยวผสม ผลัดผสม
ในรายการว่ายเดี่ยวผสม นักว่ายน้ำจะต้องว่ายรวม 4 แบบตามลำดับ คือ ผีเสื้อ กรรเชียง กบ และฟรีสไตล์
ในรายการว่ายผลัดผสม จะต้องประกอบไปด้วยนักว่ายน้ำ 4 คน และว่ายคนละแบบตามลำดับ คือ กรรเชียง กบ ผีเสื้อ และฟรีสไตล์
การแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่ายตลอดระยะทางที่กำหนด
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเข้าเส้นชัยในลู่เดิมที่เขาเริ่มต้น
การแข่งขันทุกรายการ ในการกลับตัว นักว่ายน้ำจะต้องให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสขอบสระ การกลับตัวจะต้องกระทำจากขอบสระเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เดินหรือก้าวที่ก้นสระ
อนุญาตให้นักกีฬายืนที่ก้นสระได้ ในระหว่างการแข่งขันว่ายฟรีสไตล์ หรือการว่ายในส่วนฟรีสไตล์ของรายการว่ายเดี่ยวผสมหรือผลัดผสม แต่ต้องไม่เดินที่ก้นสระ
การกีดขวางผู้เข้าแข่งขันอื่น ๆ โดยการว่ายล้ำลู่ว่ายเข้าไปในลู่ว่ายอื่น ๆ หรือเข้าไปรบกวนคู่แข่งขันคนอื่น ๆ จะถูกปรับให้แพ้ฟาล์ว ผู้ตัดสินชี้ขาดจะต้องตายงานการกระทำนั้น ๆ ต่อกรรมการจัดการแข่งขัน และสโมสรเจ้าสังกัดที่นักว่ายน้ำนั้นสังกัดอยู่
ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันใช้เครื่องประดิษฐ์ใด ที่จะเป็นเครื่องช่วยเพิ่มความเร็ว ช่วยการลอยตัว ช่วยให้เกิดความทนทานในระหว่างการแข่งขัน เครื่องช่วยเหลือนั้น คือ เครื่องช่วยมือดึงน้ำ หรือใส่เท้ามนุษย์กบ เป็นต้น แต่จะอนุญาตให้สวมแว่นตาได้
นักว่ายน้ำคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ลงแข่งขัน จะต้องไม่ลงไปในสระในขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ หรือมีผู้เข้าแข่งขันบางคนที่ยังไม่จบการแข่งขัน หากคนใดลงไปจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ลงแข่งขันในรายการต่อไปทุกรายการ
จะต้องมีนักว่ายน้ำในแต่ละทีมว่ายผลัด ทีมละ 4 คน
การแข่งขันประเภทว่ายผลัด ผู้เข้าแข่งขันของทีมใดกระโดดออกจากแท่นเริ่มต้นก่อนที่เพื่อนร่วมทีมจะว่ายเข้ามาแตะขอบสระ จะต้องถูกตัดสิทธิ์ นอกจากผู้เข้าแข่งขันที่ทำผิดนั้นได้กลับมาแตะขอบสระอีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นไปบนแท่นกระโดดเริ่มต้น
ทีมว่ายผลัดที่ผู้ว่ายในทีมว่ายผลัด และลำดับการว่ายในการแข่งขันก่อนเริ่มการแข่งขัน ทีมว่ายผลัดสามารถเปลี่ยนตัว และลำดับการว่ายได้ในระหว่างการแข่งขันรอบคัดเลือกกับรอบชิงชนะเลิศ ทั้งนี้ จะต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีที่จะลงแข่งขันในรายการนั้น ๆ ด้วย
ต้องส่งรายชื่อของผู้ว่ายในทีมว่ายผลัด และลำดับการว่ายในการแข่งขันก่อนเริ่มการแข่งขัน ทีมว่ายผลัดสามารถเปลี่ยนตัวและลำดับการว่ายได้ในระหว่างการแข่งขันรอบคัดเลือกกับรอบชิงชนะเลิศ ทั้งนี้ จะต้องมีรายชื่อที่จะลงแข่งขันในรายการนั้น ๆ ด้วย
นักว่ายน้ำว่ายผลัดคนใดที่เสร็จสิ้นการว่ายในระยะทางที่ลงแข่งขันจะต้องขึ้นจากสระทันทีทันใดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยต้องไม่กีดขวางผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ที่ยังว่ายไม่เสร็จสิ้น มิฉะนั้น จะถือว่านักว่ายน้ำคนนั้นหรือทีมนั้นทำผิด และจะถูกปรับเป็นแพ้ฟาล์ว
ควรให้โอกาสแก่นักกีฬาที่ถูกกระทำฟาล์ว จนทำให้การแข่งขันนั้นเสียสิทธิ์ ผู้ตัดสินชี้ขาดมีอำนาจที่จะอนุญาตให้นักกีฬาคนนั้นแข่งขันใหม่ในรายการต่อไปได้ หรือถ้าเป็นการฟาล์วในรอบชิงชนะเลิศ ผู้ตัดสินชี้ขาดอาจสั่งให้ว่ายใหม่ได้
การจับเวลา
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันว่ายน้ำชิงแชมป์โลก และการแข่งขันว่ายน้ำชิงถ้วยเกียรติยศของสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ ให้ใช้อุปกรณ์การจับเวลาแบบอัตโนมัติที่ได้รับการรับรองถูกต้อง การใช้อุปกรณ์อัตโนมัติจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ เวลาที่บันทึกด้วยอุปกรณ์แบบอัตโนมัติจะใช้เป็นเครื่องตัดสินการแพ้ชนะในการแข่งขันนั้น ๆ การจัดลำดับที่และการจับเวลาโดยกรรมการเส้นชัยและกรรมการผู้จับเวลา จะเป็นเพียงสำรองไว้เท่านั้น นอกจากว่าเครื่องอุปกรณ์แบบอัตโนมัติเกิดขัดข้องไม่สามารถทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ได้ จึงจะนำเอาลำดับที่และเวลาที่กรรมการเส้นชัยและกรรมการจับเวลามาตัดสินแทน
เมื่อใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติตัดสินการแข่งขัน การบันทึกเวลาให้บันทึกเวลาเป็น 1/100 วินาที (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง) ถ้าอุปกรณ์แบบอัตโนมัตินั้นมีความถี่เป็น 1/100 วินาที ทศนิยมตำแหน่งที่ 3 ไม่ต้องบันทึกลงไปในใบบันทึกเวลา และจะไม่นำเอาทศนิยมตำแหน่งที่ 3 มาพิจารณาการแพ้ชนะ หากผู้แข่งขันมีเวลาเท่ากันก็ให้มีลำดับที่เท่ากัน ผลการแข่งขันที่แสดงบนสกอร์บอร์ดก็จะต้องมีทศนิยมเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น
การจับเวลาที่ใช้กรรมการเป็นผู้จับเวลา จะต้องมีการตรวจสอบนาฬิกาว่าถูกต้องก่อน ซึ่งจะต้องใช้ผู้จับเวลา 3 คน การแต่งตั้งกรรมการและเจ้าหจ้าที่เหล่านี้จะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการผู้รับผิดชอบของสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ นาฬิกาทุกเรือนจะต้องได้รับการรับรองว่าเที่ยงตรงจากคณะกรรมการดังกล่าว เวลาที่จะบันทึกนั้นอาจจะบันทึกเป็นทศนิยมตำแหน่งเดียว 1/1,000 ในกรณีใช้นาฬิกาที่มีความถี่ 1/10 วินาที หรือถ้าใช้นาฬิกาที่มีความถี่เป็นหนึ่งต่อพันวินาที ให้บันทึกทศนิยมเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น การพิจารณาเวลาที่เป็นทางการของกรรมการเจ้าหน้าที่จับเวลาให้พิจารณาดังต่อไปนี้
ถ้านาฬิกา 2 ใน 3 เรือน จับเวลาได้เท่ากัน และเรือนที่ 3 มีเวลาที่แตกต่างกันออกไป ให้ใช้เวลาที่เท่ากัน 2 เรือนนั้นเป็นเวลาทางการ
ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือน มีเวลาไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาเรือนที่มีเวลาเป็นกลางเป็นเวลาทางการ
ถ้าเวลาของกรรมการผู้จับเวลาค้านกันกับลำดับที่ของกรรมการเส้นชัย เช่น เวลาของนักว่ายน้ำคนที่ได้ลำดับที่สองดีกว่าเวลาของนักว่ายน้ำลำดับที่ 1 การหาเวลาทางการให้เอาเวลาของลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 มารวมกัน และหารด้วย 2 ได้เท่าไร ให้ถือว่าผู้ว่ายทั้ง 2 มีเวลาเท่ากัน แต่จะไม่อนุญาตให้ประกาศเวลาจนกว่าจะได้รับคำรับรองจากกรรมการเส้นชัยเสียก่อน
ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกตัดสิทธิ์ในระหว่างแข่งขัน หรือการแข่งขันรายการต่อไป จะต้องบันทึกการตัดสิทธิ์นั้นลงในแบบรายงานผล จะไม่ประกาศเวลาและลำดับที่ของผู้ถูกตัดสิทธิ์นั้น
สถิติโลก
การแข่งขันว่ายน้ำจะถือว่าเป็นสถิติโลกทั้งชายและหญิง ได้แยกเป็นประเภทและระยะทาง ดังต่อไปนี้
ฟรีสไตล์ 50 100 200 400 800 และ 1,500 เมตร
กรรเชียง 100 และ 200 เมตร
กบ 100 และ 200 เมตร
ผีเสื้อ 100 และ 200 เมตร
เดี่ยวผสม 200 และ 400 เมตร
ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200 เมตร
ผลัดผสม 4 x 100 เมตร
ทีมว่ายผลัดที่จะรับรองสถิติโลก ผู้ว่ายในทีมต้องเป็นสัญชาติเดียวกัน
สถิติที่จะถือว่าเป็นสถิติโลก จะต้องทำการแข่งขันหรือเป็นการแข่งขันโดยการจับเวลา ไม่มีคู่แข่งขัน ซึ่งจะต้องจัดขึ้นในที่สาธารณชน และได้ประกาศทางสื่อมวลชน โดยออกอากาศหรือโฆษณาอย่างน้อย 3 วันก่อนทำการจับเวลา
ไม่ทำเครื่องหมายหรือสิ่งประดิษฐ์ใด ๆ ที่จะเป็นเครื่องช่วยหรือเป็นแนวทางที่จะทำให้การว่ายทำเวลาได้เร็วขึ้น
สระที่ใช้ในการแข่งขันหรือจับเวลา จะต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทั้งความกว้าง ยาว ลึก และระยะทางแต่ละลู่ว่าถูกต้อง และได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งหรือรับรองโดยประเทศที่จัดการแข่งขันขึ้น
จะยอมรับว่าเป็นสถิติโลก เมื่อเวลานั้นถูกจับโดยอุปกรณ์แบบอัตโนมัติเท่านั้น
เวลาที่จับได้เท่ากันด้วยเครื่องมือที่มีความถี่เป็น 1/100 วินาที จะถือว่านักว่ายน้ำทั้งสองได้ครองสถิติโลกร่วมกัน ในรายการแข่งขันใดก็ตามที่ผู้เข้าแข่งขันทำสถิติได้เท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่เสมอกันจะได้รับการตัดสินให้เป็นผู้ชนะร่วมกัน
ในการแข่งขันว่ายผลัด นักว่ายน้ำคนแรกจะขอทำสถิติโลกได้ โดยนักว่ายน้ำคนแรกของทีมว่ายผลัดจะจับเวลาในระยะที่เขาว่ายเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการเอาเวลารวมของทีมมาหาค่าเฉลี่ย
นักว่ายน้ำในรายการแข่งขันประเภทบุคคล (เดี่ยว) อาจจะขอทำ
ที่มาของเนื้อหา https://sites.google.com/site/mchak2535/ktika-way-na
ที่มาของรูปภาพ https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=nlnbUre0NMmTiQf1koCIDg&ved=0CCkQsAQ&biw=1366&bih=667#facrc=_&imgdii=_&imgrc=H_OAgUXfVsiNZM%253A%3BlUbzD0QwbxNMaM%3Bhttp%253A%252F%252Fstatic.cdn.thairath.co.th%252Fmedia%252Fcontent%252F2012%252F05%252F20%252F262000%252Fhr1667%252F630.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.thairath.co.th%252Fcontent%252Fsport%252F262000%3B630%3B378
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น